เฉลยแล้ว ปฏิทินปี ค.ศ. 1582 เดือนตุลาคม ทำไมมีแค่ 21 วัน

เพจเฟสบุ๊ก
โบราณนานมา
ได้หยิบประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปฏิทินในปี ค.ศ. 1582 ขึ้นมาเล่าอีกครั้ง โดยอ้างถึงโพสต์จากเพจ Kodkid.iq ที่ระบุว่า เดือนตุลาคม ปี 1582 มีเพียง 21 วันเท่านั้น เพราะหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม วันถัดไปคือวันที่ 15 ตุลาคมทันที ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า “ทำไมวันเวลาถึงหายไป 10 วัน?”

ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัย จูเลียส ซีซาร์ แห่งสาธารณรัฐโรมัน เมื่อ 45 ปีก่อนคริสตกาล ซีซาร์เป็นคนแรกที่ริเริ่มให้ใช้ “ปฏิทินจูเลียน” ซึ่งได้ทำการปรับเปลี่ยนจำนวนเดือนเสียใหม่ แทนปฏิทินที่ใช้เดิม คือ ปฏิทินโรมัน จาก 10 เดือน เป็น 12 เดือน

ซีซาร์ ได้ให้นักดาราศาสตร์ชาวกรีก มาคำนวณและปรับปรุงปฏิทินเดิมของโรมัน และ ปฏิทินโรมัน เดิมนั่้นไม่ตรงตามฤดูกาลและไม่เป็นมาตรฐาน จึงเพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน โดยให้แต่ละเดือนมีจำนวนวัน 30 และ 31 วันคละกันไป และจากการคำนวณ คือ 1 ปีมี 365.25 วัน ดังนั้นในทุก ๆ ปีจะมีเศษ 0.25 เพิ่มมาในทุก ๆ ปี จากนั้นได้กำหนดให้เพิ่มมา 1 วันในทุก 4 ปี เพราะ 0.25 คูณ 4 เท่ากับ 1 วันพอดี

ดังนั้น ในแต่ละเดือนมีจำนวนวัน 30 และ 31 วันคละกันไป ยกเว้นเดือน กุมภาพันธ์ ที่ให้มี 28 หรือ 29 วัน

วิธีการคิดปีอธิกสุรทิน ที่มี 29 กุมภาพันธ์ (ตามปฏิทิน ปฏิทินจูเลียน)

ปี ค.ศ. ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย 00

ถ้าปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัว เป็น ปีอธิกสุรทิน (ที่มี 29 กุมภาพันธ์)

ถ้าปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ไม่ลงตัว เป็น ปีปกติสุรทิน (ที่มีถึง 28 กุมภาพันธ์)

ต่อมาก็เกิด ปฏิทินเกรโกเรียน เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจาก ปฏิทินจูเลียน อีกทีหนึ่ง ใช้กันใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อปี ค.ศ. 1582

เหตุที่มีการคิดค้น ปฏิทินเกรโกเรียน ขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีใน ปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วัน นั้นมีนานกว่าปีฤดูกาลจริง คือ 1 ปี มี 365.2425 วัน อยู่เล็กน้อย คือเกินมาปีละ 11 นาที ทำให้วันของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย หลายคนก็คงคิดแค่ 11 นาทีเอง ไม่เห็นเป็นอะไร แต่เนื่องจาก ปฏิทินจูเลียน ใช้มาเป็นพันปีพอมาถึงปี ค.ศ. 1582 มีวันเกินมา 10 วัน

ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปา จึงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1582 ในครั้งแรกของการปรับวัน จำนวนวันจึงถูกร่นขาดหายไป 10 วัน

วิธีการคิดปีอธิกสุรทิน (ตามปฏิทิน ปฏิทินเกรโกเรียน)

กรณีที่ 1 (ตามปฏิทิน ปฏิทินจูเลียน)

ปี ค.ศ. ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย 00 ถ้าปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัว เป็น “ปีอธิกสุรทิน” (ที่มี 29 กุมภาพันธ์) ถ้าปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ไม่ลงตัว เป็น “ปีปกติสุรทิน” (ที่มีถึง 28 กุมภาพันธ์)

ดังนั้น ค.ศ. 2020 จึงเป็น “ปีอธิกสุรทิน” และ ค.ศ. 2021 เป็น “ปีปกติสุรทิน”

กรณีที่ 2 (เพิ่มเข้ามาตามปฏิทิน “ปฏิทินเกรโกเรียน”)

ปี ค.ศ. ที่ลงท้ายด้วย 00

ถ้าปี ค.ศ. ที่หารด้วย 400 ลงตัว เป็น “ปีอธิกสุรทิน” (ที่มี 29 กุมภาพันธ์)

ถ้าปี ค.ศ. ที่หารด้วย 400 ไม่ลงตัว เป็น “ปีปกติสุรทิน” (ที่มีถึง 28 กุมภาพันธ์)

ดังนั้น ค.ศ. 2100 จึงเป็น “ปีปกติสุรทิน” (ที่มีถึง 28 กุมภาพันธ์)

ของประเทศไทยก็มีเหตุการณ์เรื่องวันที่หายไปเหมือนคล้าย ๆ กัน แต่ของไทยหายไป 3 เดือน เพราะในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลในยุคของ “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” ตัดสินใจเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม การเปลี่ยนแปลงนี้ กลับมีผลทำให้ ปี พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือนเท่านั้น

1 ปี มี 9 เดือน เคยเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ถ้าย้อนหลังกลับไปหากใครจำได้ จะมีคนชอบพูดอยู่บ่อย ๆ ว่าเดิมเดือนเมษายน คือ วันขึ้นปีใหม่ไทย แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าวันที่ 1 เมษายน ยังเป็นวันที่เปลี่ยนศักราชอีกด้วย แต่ในปัจจุบัน เราจะเปลี่ยนศักราชกันทุก ๆ วันที่ 1 มกราคมของทุกปีตามสากล

การนับศักราชแบบปัจจุบัน ก็คือเริ่มที่เดือน มกราคม จนถึง ธันวาคม ตามสากล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ออกประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม เริ่มตั้งแต่ปี 2484 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดานานาอารยประเทศ ซึ่งตัดสามเดือนสุดท้ายของปี 2483 ออก ทำให้เดือน มกราคม 2483, กุมภาพันธ์ 2483 และ มีนาคม 2483 หายไป

ระหว่าง วันที่ 1 มกราคม 2483 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2483 คือช่วงเวลาที่หายไปในปฏิทิน ดังนั้นวันเวลาจะหายไป 3 เดือน หรือ 91 วัน จึงไม่มีคนเกิดในวันเวลานี้ตามปฏิทินประเทศไทย

ทำให้ในปี 2483 นั้น พอถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2483 วันต่อไปจะเป็นวันที่ 1 มกราคม 2484 เลย จากเดิมที่ควรเป็นวันที่ 1 มกราคม 2483

การนับศักราชแบบเก่า

เดือนที่ 1 เมษายน (เปลี่ยนศักราช)

เดือนที่ 2 พฤษภาคม

เดือนที่ 3 มิถุนายน

เดือนที่ 4 กรกฎาคม

เดือนที่ 5 สิงหาคม

เดือนที่ 6 กันยายน

เดือนที่ 7 ตุลาคม

เดือนที่ 8 พฤศจิกายน

เดือนที่ 9 ธันวาคม

เดือนที่ 10 มกราคม

เดือนที่ 11 กุมภาพันธ์

เดือนที่ 12 มีนาคม (เดือนสุดท้ายของปี)

การนับศักราชแบบปัจจุบัน

เดือนที่ 1 มกราคม (เปลี่ยนศักราช)

เดือนที่ 2 กุมภาพันธ์

เดือนที่ 3 มีนาคม

เดือนที่ 4 เมษายน

เดือนที่ 5 พฤษภาคม

เดือนที่ 6 มิถุนายน

เดือนที่ 7 กรกฎาคม

เดือนที่ 8 สิงหาคม

เดือนที่ 9 กันยายน

เดือนที่ 10 ตุลาคม

เดือนที่ 11 พฤศจิกายน

อเดือนที่ 12 ธันวาคม (เดือนสุดท้ายของปี)

ถ้าใครได้อ่านประวัติศาสตร์ในช่วงก่อนรัชกาลที่ 7 ขึ้นไป จะค่อยข้างสับสนกับปีพุทธศักราชนิดหนึ่ง เพราะเขาใช้การนับศักราชแบบเก่า ยกตัวอย่าง เช่น วันเวลาที่ สวรรคตและออกพระเมรุ ของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6

รัชกาลที่ 5

สวรรคต 23 ตุลาคม 2453

ออกพระเมรุ 16 มีนาคม 2453

รัชกาลที่ 6

สวรรคต 26 พฤศจิกายน 2468

ออกพระเมรุ 24 มีนาคม 2468

ถ้าใครอ่านถึงตอนนี้คงสับสนและงงว่า ทำไมพระราชพิธีถวายพระเพลิง จึงมีขึ้นก่อนการสวรรคตงั้นหรือ แต่จริง ๆ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะนี่คือการนับศักราชแบบเก่า

ตามการนับศักราชแบบเก่า รัชกาลที่ 5 สวรรคต ในเดือนตุลาคม คือ เดือนที่ 7 ส่วนพระราชพิธีถวายพระเพลิง มีในเดือน มีนาคม คือ เดือนที่ 12 และรัชกาลที่ 6 สวรรคต ในเดือนพฤศจิกายน คือ เดือนที่ 8 ส่วนพระราชพิธีถวายพระเพลิง มีในเดือน มีนาคม คือ เดือนที่ 12

Leave a Comment