ประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2568 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 1 (110/2568) ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 กรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งการเกิดพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก พื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่า มีพื้นที่บางส่วนเสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน ในช่วงวันที่ 10 – 13 พฤษภาคม 2568 ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดนนทบุรี (อำเภอเมืองนนทบุรี บางใหญ่ บางกรวย และปากเกร็ด) จังหวัดปทุมธานี (อำเภอลำลูกกาและคลองหลวง) จังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ บางพลี บางบ่อ และพระสมุทรเจดีย์) และกรุงเทพมหานคร
2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนี้
2.1 ภาคเหนือ บริเวณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอปาย และปางมะผ้า) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่แตง เชียงดาว เวียงแหง พร้าว แม่อาย ฝาง ไชยปราการ จอมทอง สะเมิง แม่วาง และแม่ริม) จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย แม่ฟ้าหลวง แม่สรวย แม่สาย เชียงแสน เทิง และพาน) จังหวัดพะเยา (อำเภอเมืองพะเยา แม่ใจ ภูกามยาว ดอกคำใต้ และเชียงม่วน) จังหวัดลำปาง (อำเภอสบปราบ วังเหนือ งาว และเกาะคา) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอท่าปลา และฟากท่า) จังหวัดแพร่ (อำเภอเมืองแพร่ สอง ร้องกวาง และหนองม่วงไข่) จังหวัดน่าน (อำเภอนาน้อย และนาหมื่น) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอวังทอง ชาติตระการ และนครไทย)จังหวัดสุโขทัย (อำเภอเมืองสุโขทัย กงไกรลาศ และคีรีมาศ) จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอขาณุวรลักษบุรี และบึงสามัคคี) จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์)
2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จังหวัดเลย (อำเภอเมืองเลย เชียงคาน ภูกระดึง ผาขาว และภูเรือ) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอปากคาด) จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย และรัตนวาปี) จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเมืองชัยภูมิ คอนสาร บ้านเขว้า และจัตุรัส) จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอวาปีปทุม) จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอคง บ้านเหลื่อม จักราช และพิมาย) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอปราสาท กาบเชิง และสังขะ) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขื่องใน และสำโรง)
2.3 ภาคตะวันออก บริเวณ จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และบ้านโพธิ์) จังหวัดสระแก้ว (อำเภอคลองหาด และอรัญประเทศ) จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี และศรีราชา) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเขาคิชฌกูฏ และมะขาม) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และเขาสมิง)
2.4 ภาคใต้ บริเวณ จังหวัดชุมพร (อำเภอสวี และหลังสวน) จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ และสุขสำราญ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเกาะสมุย ดอนสัก และกาญจนดิษฐ์) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า เกาะยาว และท้ายเหมือง) จังหวัดกระบี่ (อำเภอคลองท่อม และเหนือคลอง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต และกะทู้) จังหวัดตรัง (อำเภอวังวิเศษ) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอขนอม สิชล และนบพิตำ) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู ควนกาหลง และทุ่งหว้า) จังหวัดยะลา (อำเภอยะหา และรามัน) จังหวัดนราธิวาส (อำเภอเจาะไอร้อง สุไหงปาดี สุไหงโก-ลก และแว้ง) ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ตลอด 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ
2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสาร เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
3. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่บริเวณที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์