กรมอุตุฯ พยากรณ์ฝน 15 วัน มรสุมกำลังแรงปกคลุม ฝนถล่มหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 25 พ.ค.- 8 มิ.ย.68 init. 2025052412 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)

วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย

ช่วงนี้ทั่วไทยที่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เตรียมรับมือฝนตกหนักและหนักมากบางแห่ง

โดยเฉพาะช่วงนี้ (25 – 27 พ.ค.68)

ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ออกนอกบ้านพกร่ม ติดเสื้อกันฝน ใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง พี่น้องเกษตรกรควรเตรียมการและสำรวจพื้นที่เพาะปลูก โดยทำทางระบายน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตและสัตว์เลี้ยง

เนื่องจากมรสุมมีกำลังแรงขึ้น ประกอบมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมทะเลอันดามัน (จะแรงขึ้นถึงระดับไซโคลนหรือไม่ยังต้องติดตาม) และมีแนวร่องมรสุมพาดผ่าน

ภาคเหนือ (จ.ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง )

ภาคอีสาน

ภาคใต้ตอนบน

ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) ภาคใต้ฝั่งอันดามัน คลื่นลมในทะเลมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและท้องถิ่นต่างๆ วางแผนเตรียมความพร้อมช่วยเหลือหรืออพยพหากจำเป็น เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆพร้อมช่วยเหลือหากสถานการณ์รุนแรง ส่วนในช่วงดังกล่าว

กรมอุตุฯ พยากรณ์ฝน 15 วัน มรสุมกำลังแรงปกคลุม ฝนถล่มหนัก

ช่วง 28 พ.ค.- 30 พ.ค.68

ยังมีพื้นที่ที่ยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง และตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และด้านรับมรสุม ยังต้องเฝ้าระวังฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ส่วนบริเวณอื่นๆ ฝนลดน้อยลงบ้าง

กรมอุตุฯ พยากรณ์ฝน 15 วัน มรสุมกำลังแรงปกคลุม ฝนถล่มหนัก

ช่วง 31 พ.ค.- 8 มิ.ย.68

ฝนลดลง เว้นแต่ด้านรับมรสุม ยังมีฝนบางแห่ง

กรมอุตุฯ พยากรณ์ฝน 15 วัน มรสุมกำลังแรงปกคลุม ฝนถล่มหนัก

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ ประกาศเตือนฝนตกหนัก ฉบับที่ 9

ขณะเดียวกัน กรมอุตุฯ ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2568) ฉบับที่ 9 (129/2568)

ในช่วงวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2568 ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเส้นทางที่มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมขังในระยะสั้นได้

สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน โดยการปรับปรุงระบบทางระบายน้ำในแปลงเพาะปลูกเพื่อลดผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง ประกอบกับจะมีร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีดังนี้

วันที่ 25 พฤษภาคม 2568

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 26-27 พฤษภาคม 2568

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ขอให้ประชาชนวางแผนการใช้ชีวิตและการเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างระมัดระวัง จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Leave a Comment