รองโฆษก สธ.เตือนเมาเหล้า สงกรานต์เสี่ยง ติดเอชไอวี แนะกลุ่มเสี่ยงรับยากินฟรีใน 3 วัน

สธ.เตือน เมาเหล้า สงกรานต์เสี่ยง ติดเอชไอวี แนะกลุ่มเสี่ยงรับยากินฟรีใน 3 วัน กินติดต่อกัน 28 วัน ป้องกันติดเชื้อ เผยปี 68 คาดมีผู้ติดเชื้อใหม่ 8,862 คน

เมื่อวันที่ 15 เม.ย.68 นายจิรพงษ์ ทรงวัชราภรณ์ รองโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในช่วงสงกรานต์นี้ นอกจาก 7 วันอันตราย ในเรื่องของอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว การจัดงานรื่นเริงปาร์ตี้ในสถานที่ต่างๆ อาจทำให้ประชาชนเข้าถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก

รองโฆษก สธ.เตือนเมาเหล้า สงกรานต์เสี่ยง ติดเอชไอวี แนะกลุ่มเสี่ยงรับยากินฟรีใน 3 วัน

ซึ่งส่งผลให้ผู้คนหลากหลายกลุ่มวัย ไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง หรือกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ อาจจะมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือไม่สวมถุงยางอนามัย ทำให้มีโอกาสการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ได้ง่าย

รองโฆษก สธ.เตือนเมาเหล้า สงกรานต์เสี่ยง ติดเอชไอวี แนะกลุ่มเสี่ยงรับยากินฟรีใน 3 วัน

โดยสถานการณ์ปัจจุบัน มีผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง คาดว่าผู้ติดเชื้อ HIV ยังไม่ทราบสถานะติดเชื้อของตนเอง และยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา ทำให้คนเหล่านี้ถ่ายทอดเชื้อไปยังคู่นอนต่อไป

รองโฆษก สธ. กล่าวว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงจะต้องไปรับยา PEP Post-Exposure Prophylaxis โดยจะต้องเริ่มรับประทานยาภายใน 72 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน หลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV และประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อสามารถรับยา PrEP Pre-Exposure Prophylaxis เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะมีรายละเอียดในเรื่องของวิธีการใช้

นายจิรพงษ์ กล่าวอีกว่า ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ประชาชนสามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลในสังกัด สธ.แล้ว ยังขยายความร่วมมือจัดบริการกับหน่วยบริการภาคประชาสังคม ได้แก่ Mplus เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก โคราช CareMet เชียงใหม่ SWING ชลบุรี RSAT อุบลราชธานี สงขลา มากไปกว่านั้น

ขณะนี้ สธ. และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) โดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. และประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) องค์การเภสัชกรรม เจรจาตกลงที่จะขอซื้อยารักษาโรค HIV ชนิดใหม่ที่ออกฤทธิ์นาน มีทั้งรูปแบบฉีดและยารับประทาน จาก บริษัท Mylan สำหรับยาต้าน HIV Lenacapavir ให้กับผู้ป่วย HIV เมื่อการดำเนินการผลิตที่ประเทศอินเดียแล้วเสร็จ เพื่อให้ผู้ป่วย HIV และ เอดส์ ที่ดื้อยา และลดเวลาการที่จะต้องรับประทานยาทุกวัน

 

 

Leave a Comment