ศาล ยกฟ้อง 4 ผู้บริหาร กสทช. คดีฟ้อง ม.157 เปลี่ยนรักษาการณ์เลขาฯโดยมิชอบ

ศาลพิพากษา ยกฟ้อง 4 ผู้บริหาร กสทช. กับพวก 1 ราย ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก-เปลี่ยนรักษาการณ์เลขา ผู้พิพากษาเห็นแย้ง คุก 1 ปี รอลงอาญา

เมื่อวันที่ 8 เม.ย.68 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ ศาลนัดอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ อท.155/2566 ซึ่ง นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการและ รักษาการแทนเลขาธิการกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (กสทช.)

ศาล ยกฟ้อง 4 ผู้บริหาร กสทช. คดีฟ้อง ม.157 เปลี่ยนรักษาการณ์เลขาฯโดยมิชอบ

เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรรมการกสทช. 4 รายและรองเลขาธิการอีก 1 ราย ได้แก่ พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ (จำเลยที่ 1) ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต (จำเลยที่ 2) รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย (จำเลยที่ 3) รศ.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ (จำเลยที่ 4) และ ผศ.ดร.ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการ กสทช. (จำเลยที่ 5)

ศาล ยกฟ้อง 4 ผู้บริหาร กสทช. คดีฟ้อง ม.157 เปลี่ยนรักษาการณ์เลขาฯโดยมิชอบ

จากกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายและและดำเนินการให้มีการเปลี่ยนรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. แทนโจทก์ โดยมิชอบ

ศาล ยกฟ้อง 4 ผู้บริหาร กสทช. คดีฟ้อง ม.157 เปลี่ยนรักษาการณ์เลขาฯโดยมิชอบ

โจทก์ซึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการกสทช. ได้รับความเสียหาย ต้องถูกตั้งกรรมการสอบสวน ถูกเสนอให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. ก่อให้เกิดความสับสน ความแตกแยกในหมู่พนักงานเกิดความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เพราะมีข่าวออกเผยแพร่ทันทีภายหลังการประชุม กสทช. เสร็จสิ้น

ศาล ยกฟ้อง 4 ผู้บริหาร กสทช. คดีฟ้อง ม.157 เปลี่ยนรักษาการณ์เลขาฯโดยมิชอบ

รวมถึงหมดโอกาสในการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานจากการ กระทำของจำเลยทั้ง 5 ทำให้โจทก็ได้รับผลกระทบต่อการพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กสทช. ซึ่งจะมีขึ้นในภายภาคหน้าต่อไปด้วย จำเลยที่ 5 เป็นรองเลขาธิการ กสทช. สายงาน กิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และเป็นผู้รักษาการแทนโจทก์

แต่จำเลยที่ 5 โดยเจตนาทุจริตกลับจัดทำบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด (ลับ) ส่วนงานเลขานุการ กสทช. สายกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ แต่งตั้งตนเองเป็นพนักงานผู้รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. แทนโจทก์

โดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. และตนเองจะได้ดำรงตำแหน่งแทน จึงเป็นการจงใจปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1-4

ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย เป็นการร่วมกันปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือตำแหน่ง หน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 172

ทั้งภายหลังจากที่จำเลยที่ 1-4 ได้ร่วมกันลงมติตามระเบียบวาระ 5.22 ในการประชุม กสทช. และจำเลยที่ 5 ได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้วปรากฏว่าสื่อมวลชนได้มีการนำเสนอและเผยแพร่ข่าวที่ กสทช. มีมติปลดโจทก์ และให้โจทก์หยุดปฏิบัติหน้าที่ ผ่านทางสื่อหลายสำนัก หลายช่องทางด้วยกันทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจากการนำเสนอข่าวดังกล่าว ชื่อเสียง รวมถึงเสียโอกาสในหน้าที่การงาน ตนเอง

โดยวันนี้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ เเละจำเลยทั้ง 5 เดินทางมาศาลเพื่อเข้าฟังคำพิพากษา

โดยศาลพิเคราะห์เเล้ว เห็นว่ามีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้ง 5 ได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่เห็นว่า คณะกรรมการ กสทช.มีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.จัดสรรคลื่นความถี่ ตามมาตรา 27 มีหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพและเป็นธรรมเเละมาตรา 20 มีหน้าที่อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายพิจารณาให้ความเห็นชอบจัดสรรงบประมาณและอนุมัติโดยคำสั่งตาม พรบ.นี้หรือตามที่รับมอบหมาย

การมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการสนับสนุนซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2022 เป็นการได้กระทำการตามที่ระเบียบ กสทช. กำหนดไว้ ข้อเท็จจริงเห็นได้ว่าในการตรวจสอบข้อเท็จจริงการสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดดังกล่าว ได้กระทำตามอำนาจหน้าที่โดยมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงสรุปความคิดเห็นเสนอต่อที่ประชุม กสทช.ตามลำดับจัดการตรวจสอบและการประชุมรวม 7 ครั้งภายใน 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.-28 เมษายน 2566

จากพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งหมดมิได้มีข้อพิรุธแต่ประการใดการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีรายละเอียดชัดเจนโจทก์ในฐานะเลขาธิการ กสทช. จะมีการฝ่าฝืนข้อปฏิบัติของพนักงานรัฐ และผิดวินัย และการที่จำเลยที่ 1-4 มีมติเห็นชอบผลการสอบสวนวินัยแก่โจทก์ เป็นการเสนอตามระเบียบวาระการประชุมชอบด้วยพรบ.วิทยุกระจายเสียงแห่งชาติปี 2553 ประกอบระเบียบฯเรื่องวาระการประชุม

ส่วนการแต่งตั้งจำเลยที่5มารักษาการแทนก็มาจากเป็นผลจากการที่โจทก์มีการพิจารณาต่อเนื่อง ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเป็นการพิจารณาตามวาระการประชุมที่ชอบด้วยบทบัญญัติด้วยเช่นกัน ในส่วนจำเลยที่ 5 เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 5 เป็นไปตามอำนาจหน้าที่

ซึ่งเป็นไปตามระเบียบจากวาระที่ประชุมพยานหลักฐานโจทก์ ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าจำเลยทั้ง 5 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การกระทำของจำเลยทั้ง5 ชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลยเพราะไม่ ทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลง พิพากษายกฟ้อง

สำหรับคดีนี้มีผู้พิพากษาที่พิจารณาในสำนวนได้ทำความเห็นแย้งแนบท้ายคำพิพากษาซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยโดยระบุว่าการทำหน้าที่ของจำเลยที่1-4 ไม่โปร่งใสมีความจงใจให้โจทก์ออกจากตำแหน่งได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นที่เคลือบเเคลงความสงสัยต่อการทำหน้าที่ การกระทำของจำเลยที่1-4 เป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง

ส่วนจำเลยที่5 ก็กระทำความผิดในการเร่งรัดขั้นตอน ในการเข้ามารับหน้าที่รักษาการแทน และเห็นว่าภายหลังมีคำสั่งยกเลิกการสอบสวนโจทก์ทำให้สถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ไม่เลวร้ายพฤติกรรมแห่งคดีการลงโทษจำเลยทั้ง 5 ไม่มีประโยชน์จึงให้รอการลงโทษพิพากษาว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา83 พ.รบ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมาตรา 172 ให้ลงโทษจำคุกคนละหนึ่งปีปรับคนละ 100,000 บาทโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี

โดยภายหลังอ่านคำพิพากษา ศาลได้อธิบายเรื่องความเห็นเเย้งว่าเนื่องจากคดีนี้มีความเห็นแย้งของผู้พิพากษาที่พิจารณาในสำนวนที่เป็นผลร้ายต่อจำเลย โดยองค์คณะมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยให้ทำคำพิพากษาแนบท้ายไว้เพื่อศาลสูงพิจารณาต่อไป

Leave a Comment