กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานอาฟเตอร์ช็อก แผ่นดินไหว 8.2 เขย่าซ้ำ 16 ครั้ง ยันไม่มีสึนามิ

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานอาฟเตอร์ช็อก แผ่นดินไหว 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ศูนย์กลางเมือง มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เขย่าซ้ำ 16 ครั้ง ยันไม่มีสึนามิ

เมื่อเวลา 17.48 น. วันที่ 28 มี.ค.2568 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานอาฟเตอร์ช็อก เหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา

  • ครั้งที่ 1 เวลา 13.32 น. ขนาด 7.1
  • ครั้งที่ 2 เวลา 13.45 น. ขนาด 5.5
  • ครั้งที่ 3 เวลา 14.24 น. ขนาด 4.0
  • ครั้งที่ 4 เวลา 14.37 น. ขนาด 5.2
  • ครั้งที่ 5 เวลา 14.42 น. ขนาด 3.9
  • ครั้งที่ 6 เวลา 14.57 น. ขนาด 4.7
  • ครั้งที่ 7 เวลา 15.21 น. ขนาด 4.0
  • ครั้งที่ 8 เวลา 15.45 น. ขนาด 3.7
  • ครั้งที่ 9 เวลา 15.52 น. ขนาด 3.8
  • ครั้งที่ 10 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3
  • ครั้งที่ 11 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5
  • ครั้งที่ 12 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9
  • ครั้งที่ 13 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3
  • ครั้งที่ 14 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5
  • ครั้งที่ 15 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9
  • ครั้งที่ 16 เวลา 17.28 น. ขนาด 3.1

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นบนบก จึงไม่ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ

สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ ศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา ห่างจาก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ระยะทาง 326 กิโลเมตร ทำให้ประชาชนหลายพื้นที่ของประเทศไทยรับรู้แรงสั่นสะเทือน นอกจากนี้ยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นระยะ

ซึ่งสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย ของเมียนมา นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้นๆ ในแถบประเทศอาเซียน

ซึ่ง มิตรเอิร์ธ – mitrearth ระบุว่า รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น “ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา

รอยเลื่อนสะกาย ถูกขนานนามว่าเป็น ทางด่วนรอยเลื่อนแผ่นดินไหว เนื่องจากมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกิดแผ่นดินไหวแบบแรงเฉือนสูง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อความเร็วการแตกของแผ่นดินไหวเกิน ความเร็ว คลื่น S และอาจไปถึงความเร็วคลื่น P การแตกที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว สามารถสร้างความเสียหายมหาศาลได้ รูปทรงที่ค่อนข้างตรง ของรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรูปทรงยาวต่อเนื่อง รอยเลื่อนนี้ตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ แผ่นดินไหวแบบแรงเฉือนสูงจึงอาจส่งผลกระทบร้ายแรง

ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตือนว่า ตอนนี้ทุกท่าน โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ควรเฝ้าระวัง เพราะถ้าแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่พม่า ไม่ได้บอกว่าจะเกิด แต่ถ้าเกิดอาฟเตอร์ ช็อก ใหญ่สุดจะอยู่ที่ 6.6 หรือ 6.7 ถือเป็นภัยพิบัติ

ส่วนสาเหตุทำไมพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างถึงรู้สึกรุนแรงมาก สาเหตุเป็นการสั่นพ้อง เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดที่เมียนมา อยู่ไกลจากพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง คือ กรุงเทพ และ ปริมณฑล เพราะฉะนั้นทำให้อาคารสูงในกรุงเทพ และปริมณฑล สั่นพ้องค่อนข้างพอสมควร นี่คือเหตุผลที่อาคารสูงรู้สึก ซึ่งถ้าอยู่ใกล้จุดศูนย์กลาง อาคารสูงจะไม่รู้สึก

Leave a Comment